วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ลูกจ้างรับงานไปทำที่บ้านเป็นการจ้างแรงงาน หรือ จ้างทำของ

จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป คนเราต้องทำงานแข่งกับเวลา และใช้เวลาในการเดินทางหลายชั่วโมง นายจ้างต้องจัดรถรับส่งลูกจ้างมาทำงาน และส่งกลับ การมอบงานกลับไปทำที่บ้านจึงเป็นทางออกที่ดีอย่างหนึ่ง แต่การมอบงานให้ลูกจ้างกลับไปทำที่บ้านก็มีหลายสิ่งที่ต้องใคร่ครวญหลายประการ


แต่ทั้งนี้งานที่นายจ้างจ้างเป็นงานในลักษณะ ที่ใช้คอมพิวเตอร์และติดต่อสื่อสารในโลกของเทคโนโลยี เป็นการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทและเช็คข้อมูลของลูกค้าผ่านทาง Internet งานเหล่านี้นายจ้างมอบหมายงานให้ลูกจ้างกลับมาทำที่บ้าน งานในลักษณะเช่นนี้ เป็นงานที่รับไปทำที่บ้านแล้ว เป็นสัญญาการจ้างแรงงาน หรือ สัญญาจ้างทำของ
สัญญาจ้างแรงงานโดยทั่วไปนั้น ไม่มีกฎหมายใดกำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 575 มีความว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ลูกจ้าง" ตกลงจะทำงานให้อีกคนหนึ่งเรียกว่า "นายจ้าง" และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้"
สัญญาจ้างทำของ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้าง เพื่อผลสำเร็จแห่งการทำงานนั้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สัญญาจ้างงานแรงงานไปทำที่บ้าน นายจ้างและลูกจ้างต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ มีความอย่างเดียวกันสองฉบับต่างฝ่ายต่างถือไว้คนละฉบับ พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจสอบได้ มีข้อความอย่างน้อยคือ
(1) วันและสถานที่ที่ทำสัญญาจ้าง
(2) ชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ และที่อยู่ของนายจ้างและลูกจ้าง นายจ้างอาจเป็นนิติบุคคลก็ได้
(3) ที่ตั้งสถานประกอบกิจการของนายจ้าง และสถานที่ทำงานของลูกจ้าง
(4) ประเภท ลักษณะ และสภาพของงานที่ส่งมอบให้แก่ลูกจ้าง
(5) วันและสถานที่ที่นายจ้างส่งมอบงานให้แก่ลูกจ้าง
(6) อัตราค่าจ้าง และการหักค่าจ้าง
(7) วันและสถานที่ที่นายจ้างจ่ายค่าจ้าง
(8) วันและสถานที่ที่นายจ้างรับมอบงานของลูกจ้าง

จากงานที่นายจ้างมอบงานให้ลูกจ้างกลับไปทำที่บ้านตามข้อความข้างต้น มีลักษณะคล้ายกับสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ความว่า "สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้าง เพื่อผลสำเร็จแห่งการทำงานนั้น" สาระสำคัญของการจ้างทำของ ได้แก่
(1) ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามความสำเร็จของงานที่ตกลงกันจะแบ่งเป็นงวด ๆ ก็ได้ มาตรา 602
(2) ผู้รับจ้างไม่ต้องทำตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง แต่ผู้ว่าจ้างอาจตรวจตราการงานนั้นได้ มาตรา 592
(3) ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในการทำงาน และอาจรวมถึงวัตถุดิบด้วย มาตรา 588
(4) ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานหรือค่าชดเชย มาตรา 118 ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
(5) ผู้ว่าจ้างไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงาน เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายประกันสังคม กฎหมายเงินทดแทน เป็นต้น
(6) ผู้ว่าจ้างไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงาน เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายประกันสังคม กฎหมายเงินทดแทน เป็นต้น


อย่างไรก็ตามไม่ว่านายจ้างจะจ้างงานลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือ สัญญาจ้างทำของ ก็ตาม นายจ้างต้องมีความรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541




























































































































-+

1 ความคิดเห็น: