วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ใคร..? มีสิทธิรับมรดก

ปัญหาที่ถามมาเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก โดยประเด็นของปัญหาคือบุตรที่สมรสแล้ว หากบุตรนั้นเสียชีวิตและมีทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสด้วย บิดา-มารดาของบุตรที่ตายไปจะมีสิทธิรับมรดกของบุตรหรือไม่

ก่อนอื่นต้องดูกฎหมายครอบครัวก่อนเพราะขณะที่เสียชีวิต ผู้ตายมีคู่สมรสถูกต้องตามกฎหมายและบุตรที่เกิดจากสมรสดังกล่าว ตามกฎหมายครอบครัวนั้นเมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ไม่ว่าด้วยการตาย การหย่า หรือศาลพิพากษา ถ้ามีสินสมรส สินสมรสต้องนำมาแบ่งคนละครึ่งระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่

สินสมรสแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
1.ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส ทรัพย์สินทั้งหมดที่สามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายทำมาหาได้ในระหว่างสมรสทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใดได้มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้นั้นหรือไม่ ทั้งนี้เพราะการสมรสเปรียบเสมือนการเข้าเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ จึงตกเป็นของเจ้าของร่วมกันทั้งสามีและภริยา
2.ทรัพย์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
3.ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ในกรณีนี้ทรัพย์สินที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นบ้าน, ที่ดิน, รถ2 คัน, ตู้เสื้อผ้า, โทรทัศน์, ตู้เย็น ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและของใช้ภายในบ้าน เป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ถือเป็นสินสมรส จึงตกเป็นของผู้ตายและภริยาที่ยังมีชีวิตอยู่คนละครึ่งก่อน

ในส่วนของผู้ตาย (คือครึ่งที่ตกได้แก่ตนหลังจากแบ่งส่วนของภริยาไปแล้ว) จะกลายเป็นมรดกของผู้ตาย หากผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้ใครโดยเฉพาะเจาะจงแล้ว มรดกของผู้ตายจะตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย

ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก จะเรียงลำดับตามความสำคัญดังนี้
1.ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ลูก, หลาน, เหลน, ลื้อ
2.บิดามารดา
3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือ พี่น้องพ่อเดียวกันคนละแม่ หรือพี่น้องแม่เดียวกันคนละพ่อ
5.ปู่, ย่า, ตา, ยาย
6.ลุง, ป้า, น้า, อา

หากทายาทลำดับแรกยังมีชีวิตอยู่ จะตัดสิทธิการรับมรดกของทายาทลำดับหลัง ยกเว้นทายาทลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 จะไม่ตัดกันเอง กล่าวคือ ถ้าผู้ตายมีทายาทลำดับที่ 1 และทายาทลำดับที่ 2 ทายาททั้งสองลำดับต่างมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้เท่า ๆ กัน เพราะกฎหมายมรดกได้บัญญัติไว้ว่า หากบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนทายาทชั้นบุตร นอกจาก นี้ถ้ามีคู่สมรสและมีทายาทลำดับที่ 1 คู่สมรสจะมีสิทธิ์รับมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตรเช่นเดียวกัน

สำหรับกรณีที่ผู้ตายมีบุตร บิดา มารดา และคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคคลเหล่านี้จะมีส่วนแบ่งในมรดกส่วนของผู้ตาย (คือครึ่งหนึ่งหลังจากแบ่งให้ภริยาตามกฎหมายครอบครัวแล้ว) จะสังเกตได้ว่า คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ของผู้ตายจะได้ส่วนแบ่งมากที่สุด คือครึ่งหนึ่งตามกฎหมายครอบครัวและแบ่งส่วนเท่า ๆ กันกับทายาทของผู้ตายในส่วนครึ่งที่เป็นมรดก ในกรณีนี้จึงตอบได้ว่าบิดามารดามีสิทธิได้รับมรดกด้วย ส่วนจะแบ่งกันอย่างไรต้องมีผู้จัดการมรดกเข้ามาดำเนินการให้ ซึ่งอาจจะตกลงรับกันเป็นตัวทรัพย์ หรือทอนมาเป็นเงิน หรือขายนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน หรือสละสิทธิก็แล้วแต่

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ลูกจ้างรับงานไปทำที่บ้านเป็นการจ้างแรงงาน หรือ จ้างทำของ

จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป คนเราต้องทำงานแข่งกับเวลา และใช้เวลาในการเดินทางหลายชั่วโมง นายจ้างต้องจัดรถรับส่งลูกจ้างมาทำงาน และส่งกลับ การมอบงานกลับไปทำที่บ้านจึงเป็นทางออกที่ดีอย่างหนึ่ง แต่การมอบงานให้ลูกจ้างกลับไปทำที่บ้านก็มีหลายสิ่งที่ต้องใคร่ครวญหลายประการ


แต่ทั้งนี้งานที่นายจ้างจ้างเป็นงานในลักษณะ ที่ใช้คอมพิวเตอร์และติดต่อสื่อสารในโลกของเทคโนโลยี เป็นการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทและเช็คข้อมูลของลูกค้าผ่านทาง Internet งานเหล่านี้นายจ้างมอบหมายงานให้ลูกจ้างกลับมาทำที่บ้าน งานในลักษณะเช่นนี้ เป็นงานที่รับไปทำที่บ้านแล้ว เป็นสัญญาการจ้างแรงงาน หรือ สัญญาจ้างทำของ
สัญญาจ้างแรงงานโดยทั่วไปนั้น ไม่มีกฎหมายใดกำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 575 มีความว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ลูกจ้าง" ตกลงจะทำงานให้อีกคนหนึ่งเรียกว่า "นายจ้าง" และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้"
สัญญาจ้างทำของ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้าง เพื่อผลสำเร็จแห่งการทำงานนั้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สัญญาจ้างงานแรงงานไปทำที่บ้าน นายจ้างและลูกจ้างต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ มีความอย่างเดียวกันสองฉบับต่างฝ่ายต่างถือไว้คนละฉบับ พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจสอบได้ มีข้อความอย่างน้อยคือ
(1) วันและสถานที่ที่ทำสัญญาจ้าง
(2) ชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ และที่อยู่ของนายจ้างและลูกจ้าง นายจ้างอาจเป็นนิติบุคคลก็ได้
(3) ที่ตั้งสถานประกอบกิจการของนายจ้าง และสถานที่ทำงานของลูกจ้าง
(4) ประเภท ลักษณะ และสภาพของงานที่ส่งมอบให้แก่ลูกจ้าง
(5) วันและสถานที่ที่นายจ้างส่งมอบงานให้แก่ลูกจ้าง
(6) อัตราค่าจ้าง และการหักค่าจ้าง
(7) วันและสถานที่ที่นายจ้างจ่ายค่าจ้าง
(8) วันและสถานที่ที่นายจ้างรับมอบงานของลูกจ้าง

จากงานที่นายจ้างมอบงานให้ลูกจ้างกลับไปทำที่บ้านตามข้อความข้างต้น มีลักษณะคล้ายกับสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ความว่า "สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้าง เพื่อผลสำเร็จแห่งการทำงานนั้น" สาระสำคัญของการจ้างทำของ ได้แก่
(1) ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามความสำเร็จของงานที่ตกลงกันจะแบ่งเป็นงวด ๆ ก็ได้ มาตรา 602
(2) ผู้รับจ้างไม่ต้องทำตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง แต่ผู้ว่าจ้างอาจตรวจตราการงานนั้นได้ มาตรา 592
(3) ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในการทำงาน และอาจรวมถึงวัตถุดิบด้วย มาตรา 588
(4) ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานหรือค่าชดเชย มาตรา 118 ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
(5) ผู้ว่าจ้างไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงาน เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายประกันสังคม กฎหมายเงินทดแทน เป็นต้น
(6) ผู้ว่าจ้างไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงาน เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายประกันสังคม กฎหมายเงินทดแทน เป็นต้น


อย่างไรก็ตามไม่ว่านายจ้างจะจ้างงานลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือ สัญญาจ้างทำของ ก็ตาม นายจ้างต้องมีความรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541




























































































































-+

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ชีวิตเป็นสุขได้..ถ้ามองทุกข์อย่างเข้าใจ

ชีวิตเป็นสุขได้...ถ้ามองทุกข์อย่างเข้าใจ


ทุกชีวิตย่อมมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นวัำฎสงสาร ที่หลายๆ คนคงทราบกันอยู่ แต่จะมีสักกี่คนที่จะปฎิบัติตนให้พ้นจากวัฎสงสารนั้น คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกคนล้วนแสวงหาหนทางชีวิตที่ดี แต่คงจะมีไม่มีคนที่ค้นพบทางออกที่เหมาะสมกับตนเองได้จริงๆ หรือกว่าจะค้นพบชีวิตก็หมดเวลาไปเกือบค่อนชีวิตแล้ว

เปรียบเช่น ชายหญิงคู่หนึ่งมีเส้นทางชีวิต..เส้นทางรัก ที่ฝ่าฝันอุปสรรคและมีความรักความเข้าใจซึ่งกันและกันมาตลอด หากแต่วันหนึ่งหญิงอันเป็นที่รักของชายหนุ่ม ได้พบกับโชคชะตาที่แปรผันไปเนื่องจากหญิงสาวประสบอุบัติเหตุ ทำให้เธอไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องนอนเป็นเจ้าหญิง ไม่รับ ไม่รูู้ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งใดๆ มีแค่ชายหนุ่มผู้เป็นดวงใจของหญิงสาวกลับไม่ทอดทิ้ง คอยประคับประคองดูแล ช่วยเหลือทุกทางเพื่อให้หญิงสาวของตนกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ เหมือนอย่างแต่ก่อน จากการประพฤติ ปฎิบัติตนของชายหนุ่มผู้นี้ ต่อหญิงสาวของตนแล้วนั้น ทำให้ชายหนุ่มถูกมองว่าเป็นคนไร้ความคิด ขาดสติ ยามเหยียดพวกเขาว่า จะอยู่กันได้อย่างไร ในเมื่ออีกคน มีเพียงร่างกายแต่ไม่มีชีวิต (เหมือนคนที่ตายไปแล้ว)
ชายหนุ่มมองทางออกของชีวิตด้วยการยืนหยัดบนชีวิต ที่คิดแต่สิ่งดีดีให้ชีวิต แม้ชีวิตของพวกเขาจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ชายหนุ่มก็ใช้ ความทุกข์ของเขาอย่างเข้าใจ เพียรพยายามแสวงหาความสุข โดยคิดว่าคนอื่นทุกข์หนักกว่าตน และนำความทุกข์นั้นมาสร้างกำลังใจให้ตน ในการดูแลหญิงสาว แม้ว่าชายหนุ่มจะต้องนั่งร้องไห้ เพียงคนเดียว

สุดท้ายของชีวิตชายหนุุ่มเลือกที่จะอยู่กับหญิงสาว เพื่อดูแลหญิงสาวไปตลอดชีวิต แม้เส้นทางชีวิตของพวกเขาจะดูเหมือนเส้นขนาน แต่ชายหนุ่มก็สร้างความทุกข์จากเส้นขนานนั้น ให้กลายเป็นเส้นที่มาบรรจบกันเป็นความสุข

หากคิดแต่เรื่องดีดี ชีวิตก็มีความสุขและมีความทุกข์อย่างเข้าใจ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แต่งงานแล้วใ้ช้นางสาวได้

บทความ แต่งงานแล้วใช้นางสาวได้แล้วคะ


เมื่อหญิงไทยแต่งงานจดทะเบียนสมรสแล้วนั้น คำนำหน้านามก็มักจะเปลี่ยนจาก "นางสาว"มาเป็น "นาง" แต่ปัจจุบันหญิงไทยไม่ต้องกังวลแล้วคะ เพราะมีพระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้กันแล้ว

เป็นที่ถกเถียงกันมากในสังคมหญิงไทย ที่ออกมาเรียกร้องสิทธิ สิทธิที่หลายคนมองว่า ทำไมถึงช่างเอารัดเอาเปรียบผู้หญิง การที่ฝ่ายหญิงคิดว่าตนต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามอยู่ฝ่ายเดียว โดยฝ่ายชายยังใช้ "นาย" เช่นเดิม

จากการใช้คำนำหน้านามของหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว ต้องใช้คำนำหน้านามว่า "นาง" คำเดียว โดยมิอาจเลือกได้ตามความสมัครใจ ทำให้เกิดผลกระทบต่อหญิงดังกล่าวในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การประกอบอาชีพ การทำนิติกรรมต่างๆ ซึ่งเกิดความไม่ยุติธรรมต่อฝ่ายหญิง จึงส่งผลให้ผู้หญิงออกมาเรียกร้องสิทธิความไม่เท่าเทียมกัน ต่อการใช้คำนำหน้านาม

ทั้งนี้หญิงที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสแล้ว แต่เดิมต้องเปลี่ยนจาก "นางสาว"มาเป็น "นาง" แต่พรบ.ฉบับนี้มีเนื้อหาหลักๆคือ ผู้หญิงที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสแล้วนั้น สามารถใช้คำนำหน้านาม "นางสาว" ได้ตามความสมัครใจ



จึงได้มี พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 ออกมาประกาศใช้ดังนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อย ยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบการใช้คำนำหน้านามหญิงเป็นอย่างอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๔ หญิงซึ่งมีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว”

มาตรา ๕ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

มาตรา ๖ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตาม


ถึงพระราชบัญญัติ คำนำหน้านาม พ.ศ.2551 จะออกมาตอบสนองต่อผู้หญิง แต่ก็ไม่ได้แสดงถึงว่าหญิงนั้นมีสถานภาพยังโสดอยู่ หากแต่หญิงนั้นยังคงอยู่ในสถานะที่ต้องยอมรับความเป็นจริง เพื่อเป็นภรรยาของสามี เป็นแม่ของลูก

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มาตรการคุ้มครองนักท่องเทียว

ผู้เขียน น.ส.สุกัญญา ลีลา
บทความ
เรื่อง มาตรการคุ้มครองนักท่องเที่ยว

เริ่มต้นเข้าสู่ฤดูแห่งการท่องเที่ยว มีกลุ่มผู้ประกอบการหลายกิจการ เริ่มเปิดตัวเพื่อเตรียมพร้อมกับการท่องเที่ยวที่จะเริ่มขึ้น ผู้ประกอบการด้านทัวร์เป็นอีกหนึ่งกิจการที่ทำรายได้เข้าประเทศ แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ประกอบการกับหลอกลวง แสวงหาผลประโยชน์และเอาเปรียบนักท่องเที่ยว เช่น กำหนดการทัวร์ คุณภาพอาหาร ทีพัก และพาหนะในการเดินทาง ไม่เป็นไปตามข้อตกลงหรือแผนการเดินทาง ทำใ้ห้นักท่องเที่ยวไม่พึงพอใจ ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยว
จากปัญหาข้างต้นนักท่องเที่ยวเกิดความกังวลในการท่องเที่ยว ว่าจะได้รับความสะดวกและปลอดภัยจากการท่องเที่ยวว่าจะ ไม่ถูกหลอกลวงจากกลุ่มมิฉาชีพ การขายทัวร์เกินราคาความเป็นจริง การขายสินค้าไม่ได้คุณภาพ หลายหน่วยงานได้เตรียมประสานงานและหาทางแก้ไขปัญหามาโดยตลอด จนเกิดมาตราการคุ้มครองนักท่องเที่ยว โดยการจัดให้มีการแจกใบราคากลาง ค่าทัวร์ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง การกำหนดมารตฐานราคาสินค้า ให้กับนักท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการร้านค้ารู้ถึงบทลงโทษ การเข้าตรวจสอบผู้ประกอบการ ร้านค้า ที่มีพฤติการณ์หลอกลวงนักท่องเที่ยว
การปราบปรามผู้กระทำผิดต่อนักท่องเที่ยวจะได้รับความผิด ดังนี้
๑. ความผิดตาม พรบ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศน์
๒. ความผิดตาม พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว

ดังนั้นการคุ้มครองนักท่องเที่ยวได้นั้น ต้องมีบทลงโทษให้กับผู้กระทำผิดต่อนักท่องเที่ยวอย่างรุนแรง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่น และความประทับใจ