วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แต่งงานแล้วใ้ช้นางสาวได้

บทความ แต่งงานแล้วใช้นางสาวได้แล้วคะ


เมื่อหญิงไทยแต่งงานจดทะเบียนสมรสแล้วนั้น คำนำหน้านามก็มักจะเปลี่ยนจาก "นางสาว"มาเป็น "นาง" แต่ปัจจุบันหญิงไทยไม่ต้องกังวลแล้วคะ เพราะมีพระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้กันแล้ว

เป็นที่ถกเถียงกันมากในสังคมหญิงไทย ที่ออกมาเรียกร้องสิทธิ สิทธิที่หลายคนมองว่า ทำไมถึงช่างเอารัดเอาเปรียบผู้หญิง การที่ฝ่ายหญิงคิดว่าตนต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามอยู่ฝ่ายเดียว โดยฝ่ายชายยังใช้ "นาย" เช่นเดิม

จากการใช้คำนำหน้านามของหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว ต้องใช้คำนำหน้านามว่า "นาง" คำเดียว โดยมิอาจเลือกได้ตามความสมัครใจ ทำให้เกิดผลกระทบต่อหญิงดังกล่าวในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การประกอบอาชีพ การทำนิติกรรมต่างๆ ซึ่งเกิดความไม่ยุติธรรมต่อฝ่ายหญิง จึงส่งผลให้ผู้หญิงออกมาเรียกร้องสิทธิความไม่เท่าเทียมกัน ต่อการใช้คำนำหน้านาม

ทั้งนี้หญิงที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสแล้ว แต่เดิมต้องเปลี่ยนจาก "นางสาว"มาเป็น "นาง" แต่พรบ.ฉบับนี้มีเนื้อหาหลักๆคือ ผู้หญิงที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสแล้วนั้น สามารถใช้คำนำหน้านาม "นางสาว" ได้ตามความสมัครใจ



จึงได้มี พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 ออกมาประกาศใช้ดังนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อย ยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบการใช้คำนำหน้านามหญิงเป็นอย่างอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๔ หญิงซึ่งมีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว”

มาตรา ๕ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

มาตรา ๖ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตาม


ถึงพระราชบัญญัติ คำนำหน้านาม พ.ศ.2551 จะออกมาตอบสนองต่อผู้หญิง แต่ก็ไม่ได้แสดงถึงว่าหญิงนั้นมีสถานภาพยังโสดอยู่ หากแต่หญิงนั้นยังคงอยู่ในสถานะที่ต้องยอมรับความเป็นจริง เพื่อเป็นภรรยาของสามี เป็นแม่ของลูก

3 ความคิดเห็น:

  1. ต่อจากบอกรายละเอียดกฎหมายน่าจะวิเคราะห์และสรุปความเห็นอีกนิดนึง จะเฉียบมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. บอกได้คำเดียวว่า เยี่ยม

    ตอบลบ